13. Juli 2021
ตลาดหลักทรัพย์ไทย ขาดปัจจัยบวก บรรยากาศการลงทุนในช่วงต้นสัปดาห์ ตลาดขาดปัจจัยบวกที่จะกระตุ้นนักลงทุนให้กลับเข้าตลาด การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และการล็อคดาวน์บางจังหวัด กดดันให้ดัชนีตลาดปิดที่ 1,549.84 จุด ลดลง 2.25 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน แรงซื้อเก็งกำไรจะหุ้นดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน นักลงทุนทั่วไปยังเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม ตลาดปิดในแดนบวกจากมุมมองว่าผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนจะสดใส แต่นักลงทุนยังเฝ้าติดตามตัวเลขเงินเฟ้อและถ้อยแถลงประธานเฟดต่อสภาคองเกรสในสัปดาห์นี้ ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง (Low Price Gapping Play) ที่ 1,576 – 1,563 จุด ซึ่งเป็นสัญญาณลงต่อเนื่อง (Continuation pattern) ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับอยู่ที่ 1,529 จุด และ 1,510 จุด ตามลำดับ ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน ดัชนีมีเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,579 – 1,583 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,600 จุด จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,540 จุด และกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,529 จุด การนับคลื่นปรับ (Collective wave) จะต้องนับใหม่ เนื่องจากคลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,558 – 1,567 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,540 – 1,529 จุด กลยุทธ์การลงทุน กรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,565 จุด ควรปรับพอร์ตลงอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้พอร์ตลงทุนเหลือ 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อถือเงินสดเพิ่ม #ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity