Chanayut

ทำไมเราต้องตั้ง Stop Loss ทุกครั้ง

Ausbildung
OANDA:CHFJPY   Schweizer Franken/Japanischer Yen
Stop Loss คืออะไร
Stop Loss คือ คำสั่งขายสินทรัพย์ทางการเงินเมื่อถึงราคาหรือเงื่อนไขที่กำหนด วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการขาดทุนอย่างหนักจากการเทรด โดยเฉพาะการเทรดบนตราสารอนุพันธ์อย่าง CFD (Contract for Differences) ที่เทรดเดอร์สามารถใช้ Leverage ที่สูง ๆ ได้
การตั้งค่าคำสั่ง Stop Loss จะเปรียบเสมือนคุณออกคำสั่งล่วงหน้าไว้กับโบรกเกอร์ที่คุณใช้บบริการ หลังจากนั้นโบรกเกอร์จะทำตามคำสั่ง Stop Loss ที่คุณวางไว้ แม้ว่าคุณจะไม่ได้เปิดคอมพิวเตอร์หรือเชื่อมต่อบัญชีเทรดของคุณอยู่ก็ตาม ซึ่งถ้าหากคุณไม่มีเวลาติดตามสถานะการซื้อขายของคุณตลอด การตั้งค่า Stop Loss เอาไว้จะปกป้องเงินทุนของคุณจากการกระชากอย่างรุนแรงของราคา โดยเฉพาะในตลาด Forex ได้

เหตุผลที่ต้องตั้ง Stop Loss.
- เพื่อหยุดการขาดทุนอย่างหนัก เพราะไม่มีใครรู้อนาคตของตลาด
- การเทรด CFD ไม่สามารถคิดแบบ "ไม่ขาย ไม่ขาดทุน" ได้ เพราะหากคุณใช้ Leverage ที่เกินขนาด การที่คุณไม่ขายจะทำให้มีโอกาสที่จะสูญเสียเงินทั้งหมดของพอร์ตได้
- การตั้งค่า Stop Loss ทำให้เทรดเดอร์ต้องวางแผนการเทรดมาก่อน ซึ่งเป็นผลดีอย่างมากในการเทรดระยะยาว เทรดเดอร์ต้องรู้ตั้งแต่ก่อนเข้าเทรดว่า ถ้าโดน Stop Loss จะเสียเงินเท่าไหร่ และต้องยอมรับการเสียเงินให้ได้ตั้งแต่ยังไม่เข้าเทรด
- Stop Loss จะทำให้คุณสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น การโดน Stop Loss คือสัญญาณให้คุณพักหรือหยุดเทรด
- Stop Loss ทำให้คุณโฟกัสแต่ละการเทรด ซึ่งทำให้คุณพัฒนาความแม่นยำในการเข้าเทรดได้ เช่น สมมติคุณเทรดด้วยกลยุทธิ์การเทรด Forex แบบ Breakout แล้วคุณโดน Stop Loss บ่อยมาก นั่นอาจหมายความว่า คุณตั้ง Stop Loss แคบเกินไป หรือคุณอาจจะเข้าเทรดในจุดที่ไม่เหมาะสม (ราคาไปไกลแล้ว) ในจุดนี้ Stop Loss จะเป็นตัวช่วยเตือนสติและระลึกถึงจุดที่คุณเข้าเทรด

หวังว่าคุณจะรู้จักตนเองในตลาด ไม่มีใครรู้อนาคตว่าตลาดจะเคลื่อนที่ไปทิศทางไหน เราไม่สามารถควบคุมตลาดได้ เเต่คุณสามาถรควบคุมความเสี่ยงได้

Haftungsausschluss

Die Informationen und Veröffentlichungen sind nicht als Finanz-, Anlage-, Handels- oder andere Arten von Ratschlägen oder Empfehlungen gedacht, die von TradingView bereitgestellt oder gebilligt werden, und stellen diese nicht dar. Lesen Sie mehr in den Nutzungsbedingungen.